มาทำความรู้จักกับโน้ตบุ๊คกัน???
โน้ตบุ๊ค (Notebook)
โน้ตบุ๊ค (Notebook) สำหรับโน้ตบุ๊คหลายคนคงรู้จักหรือมีใช้งานด้วย โน้ตบุ๊คเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งในปัจจุบันมีใช้กันทั่วไปมีมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กใช้แทนกันกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเนื่องจากมีความสะดวกในการพกพาไปไหนมาไหนได้ดี ประหยัดพื้นที่ในการทำงาน ซื้อมาแล้วมีอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ครบ เมื่อก่อนนั้นมีราคาที่แพงมากแต่ปัจจุบันมีราคาที่ถูกลงมากและมีประสิทธิภาพมากขึ้นราคาทั่วไปจึงไม่ได้ต่างจากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมากนักจึงหันมาใช้งานโน้ตบุ๊คแทนมากขึ้น
ส่วนประกอบของ Notebook
โดยพื้นฐานแล้วส่วนประกอบหลักๆของ Notebook กับ Desktop PC ก็จะมีความคล้ายคลึงกัน เพราะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานหลักๆเหมือนกัน อาจจะมีบางส่วนที่หดหายไปรวมกับตัวเมนบอร์ดเพื่อลดขนาดลง ดังนั้นหากใครพอจะรู้ทางด้าน Desktop PC มาบ้างก็คงจะเข้าใจได้รวดเร็ว ส่วนคนที่ไม่รู้อะไรเลยก็สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยากแน่นอนครับ
เดี๊ยวเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบโน้ตบุ๊คกันเลยดีกว่า เริ่มจากส่วนประกอบภายนอกของโน้ตบุ๊คกันเลย!!!
![]() |
ส่วนด้านหน้าของโน้ตบุ๊ค |
จากภาพประกอบจะพูดถึงรายละเอียดคร่าวๆ พอให้รู้จักส่วนต่างๆ กันไปก่อน แล้วจะค่อยๆเจาะลึกแต่ละส่วน
A : หน้าจอแสดงผล หรือจอแอลซีดี(LCD) สำหรับแสดงผลให้เราสามารถติดต่อและทำงานกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ได้
B : กล้องเว็บแคม ส่วนมากโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ จะมีมาให้ด้วยเสมอ กล้องนี้ก็มีไว้สำหรับใช้สนทนาผ่าน กล้องเว็บแคม หรือวิดีโอคอลเป็นต้น
C : ปุ่มเปิดเครื่อง สำหรับปุ่มเปิดเครื่องแต่ละรุ่น ก็อาจจะอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน
D : คีย์บอร์ด สำหรับพิมพ์ หรือป้อนข้อมูลเข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
E : ทัชแพ็ด (Touchpad) คือเมาส์แบบทัชแพ็ด สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์ในการทำงาน
F : ปุ่มกดคลิ๊กซ้าย/ขวา ใช้สำหรับคลิ๊ก และคลิ๊กขวา ตามลำดับ เหมือนกับการใช้ในเมาส์แบบทั่วๆไป
![]() |
ส่วนด้านขวาของโน้ตบุ๊ค |
G : พอร์ท USB 3.0 สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ๆ จะมีพอร์ทที่รองรับ USB 3.0
H : ออปติคอลไดรว์ หรือ DVD Drive สำหรับอ่าน CD/DVD หรือแผ่นดิสก์ทั่วไป
I : ช่องเสียบ USB
J : ช่องเสียบสายชาร์จโน๊ตบุ๊ค
![]() |
ส่วนด้านซ้ายของโน้ตบุ๊ค |
K : ช่องระบายความร้อน
L : พอร์ตเสียบสายแลน (Ethernet RJ-45)
M : พอร์ต VGA สำหรับกับจอแสดงผลภายนอก
N : พอร์ตต่างๆ เช่น USB ช่องเสียบไมโครโฟน ช่องเสียบลำโพง
เราก็ได้ทำความรู้จักกับส่วนประกอบภายนอกของโน้ตบุ๊คกันไปแล้วนะครับ ต่อไปเราจะเข้าไปดูส่วนประกอบภายในของโน้ตบุ๊คกันว่าข้างในนั้นมีอะไรอยู่บ้าง ทำไมถึงสามารถทำงานอะไรได้หลายแบบอัจฉริยะได้ขนาดนี้ ตามมาเลย!!!
- CPU
สำหรับ CPU นั้น ย่อมาจากคำว่า Central Processing Unit โดยเปรียบได้กับสมองของคนเราจะทำหน้าที่ประมวลผลต่างๆตามที่ได้รับคำสั่ง ซึ่ง CPU ที่ใช้งานกันใน Notebook นั้นจะแตกต่างกับ CPU ที่ใช้กันตาม Desktop PC ทั่วไป โดยได้รับการออกแบบมาให้กินพลังงานต่ำกว่าที่ใช้งานตาม Desktop PC ทั่วไป แต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าซักเท่าไหร่ CPU แบบนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า CPU แบบ Mobile Technology ปัจจุบันมีอยู่ 2 ยี่ห้อที่ได้รับความนิยมอยู่ในอันดับต้นๆ คือ Intel และ AMD ซึ่งดูเหมือนว่าสำหรับตลาดทางด้าน Notebook Intel จะครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้ในสัดส่วนที่มากกว่า
![]() |
Central Processing Unit (CPU) |
- Chipset
ถ้า CPU เปรียบเสมือนกับสมองของคนเราแล้วล่ะก็ Chipset ซึ่งอยู่บน Mainboard จะทำหน้าที่ควบคุม Mainboard ซึ่งเปรียบได้กับร่างกายของคน ให้คอยทำงานตามที่สมอง (CPU) สั่งการ สำหรับตัว Mainboard ใน Notebook นั้นจะรวมเอาส่วนประกอบหลายๆอย่างที่ใน Desktop PC อาจจะมีการต่อแยกเข้าไว้ด้วยกัน โดยหลักๆใน Notebook ต่างๆจะประกอบไปด้วยระบบเสียง, LAN, Modem, Card Reader, Express Slot และ USB Port ปัจจุบันยี่ห้อที่ครองตลาดส่วนใหญ่ก็จะเป็นของ Intel อีกเช่นเคย จะมีบางยี่ห้อเท่านั้นที่ผู้ผลิตจะเลือกใช้เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เช่น Sis แต่ผมขอแนะนำว่าให้ใช้ Chipset จากทาง Intel จะดีที่สุดครับ เพื่อความเข้ากันของระบบ ปัจจุบันนี้ Chipset ที่ใช้งานกันจะเป็นรุ่น GM965 หรือ PM965 ครับ ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดที่ทาง Intel พัฒนาออกมาโดยปรับปรุงในเรื่องต่างๆให้ดีขึ้นจากตัวเก่า
![]() |
Chipset |
- RAM
Ram ย่อมาจาก Random Access Memory ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลที่รอการถูกเรียกใช้งาน หรือรอการถูกประมวลผลจาก CPU ปัจจุบัน ขนาดต่ำสุดที่ยังสามารถพบเห็นกันได้ใน Notebook จะอยู่ที่ 512 MB เพราะในปัจจุบัน Ram มีราคาที่ถูกลงมามากแล้ว ทำให้ผู้ผลิต Notebook หลายๆเจ้าเลือกที่จะใช้งานหน่วยความจำในระดับ 1 GB ขึ้นไป แต่ยังมีการใช้งานหน่วยความจำขนาด 512 MB กันบ้างใน Notebook ราคาถูก และความเร็วของ BUS ณ ปัจจุบันที่ใช้งานกันทั่วไปจะอยู่ที่ 667 MHz ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น