ประวัติกลองชุด
กลอง เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ทีสุด
เปรียบเสมือนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกของมนุษย์ ในอดีตมนุษย์ขึงหนังสัตว์บนรูกลวงของท่อนไม้
โดยตีหนังสัตว์ด้วยนิ้วและมือ เพื่อให้จังหวะสำหรับการเต้นรำ ระหว่างชนเผ่า ต่อมาคนรุ่นใหม่
ก็ได้พัฒนาต่อ โดยนำเอากลองหลากหลายใบและฉาบมาร่วมบรรเลงด้วยกันเรียกว่า กลองชุด
(Drum Set)
กลองชุดมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ประมาณปี
ค.ศ. 1900 จากการเล่าสู่กันฟังของบรรพบุรุษ
กลองชุดในยุคแรกได้นำไปบรรเลงในละครเบ็ดเตล็ด (Vaudeville) เนื่องด้วยต้องการลดจำนวนคนในการเล่นเครื่องเคาะตี
(Percussion) ซึ่งในวงทหารและวงออร์เคสตรา (Orchestral) จะใช้ผู้บรรเลงหลายคน กลองชุดพัฒนาโดยนำกลองใหญ่ (Bass Drum) ใช้เป็นศูนย์กลางแล้วนำเครื่องเคาะตีอื่นๆมาล้อมรอบ เช่น กลองสแนร์
(Snare Drum) กลองทอม (Tom) และฉาบ
(Cymbal)และสร้างขาตั้งเพื่อวางฉาบและอุปกรณ์อื่นๆ เข้าด้วยกันซึ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1890 นักบรรเลงกลองเริ่มใช้ กระเดื่องบรรเลงกลองใหญ่
เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นต้นกำเนิดแนวคิดในการสร้างกลองชุด โดยจะนั่ง บรรเลงด้วยผู้บรรเลงคนเดียวซึ่งมีกลองแค่
2ใบ คือกลองใหญ่ และกลองสแนร์ ซึ่งก่อนหน้านั้นในวงทหารและวงออร์เคสตราจะใช้ผู้บรรเลงหลายคน
ในช่วง ค.ศ.
1890 ถึง ค.ศ. 1910 หลังจากได้คิดค้นกระเดื่องบรรเลงกลองใหญ่นักบรรเลงกลองได้พัฒนาทั้งวิธีการบรรเลงโดยแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรีแทนแบบเก่าที่มีแบบแผนบังคับให้ปฏิบัติตามการแสดงโดยการบรรเลงกลองเชื่อมประโยค
(Fill In) และพัฒนาอุปกรณ์ในการประกอบเป็นกลองชุด
ในปี ค.ศ. 1920 ได้มีการคิดค้นขาตั้งฉาบไฮแฮทแทนแบบเดิมและเริ่มนำมาใช้ในกลองชุด
ในปี ค.ศ. 1920 ได้มีการคิดค้นขาตั้งฉาบไฮแฮทแทนแบบเดิมและเริ่มนำมาใช้ในกลองชุด
ใน ค.ศ. 1930 ได้มีการผลิตกลองชุดที่ได้มาตรฐานออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกและผู้ทำให้เป็นที่นิยมคือผู้บรรเลงกลองชื่อ
เบน ดันแคน
ต่อมาในปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1935 เป็นยุคของ บิกแบนด์แจ๊ส (Big Band Jazz) จังหวะของดนตรีมีทั้งจังหวะเร็วและช้า
การบรรเลงจังหวะช้านั้นเริ่มมีการใช้แส้ (Wirebrushes)นักบรรเลงกลองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้และวิธีการบรรเลงแส้และนักบรรเลงกลองต้องเป็นผู้ที่ตั้งจังหวะในบทเพลงพร้อมทั้งยึดจังหวะให้มั่น
คง ซึ่งเครื่องดนตรีอื่นๆ จะปฏิบัติตามจังหวะกลองชุด
ปี ค.ศ. 1935 จังหวะแบบใหม่ที่มีชื่อว่า สวิง (Swing) เริ่มแพร่หลายช่วงตอนต้นของปี
บทเพลงทุกเพลงต้องมีกลองชุดเข้าร่วมบรรเลงด้วยเสมอ และต้องมีการบรรเลงด้นสดเดี่ยวถึงขนาดนักบรรเลงกลองชุดที่มีชื่อเสียง
นำชื่อของตนเองมาตั้งเป็นชื่อของวงดนตรี ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคของนักบรรเลงกลองชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
เช่น จีน ครูปา และบัดดี ริช โดยในปีค.ศ. 1940 มีการใช้กลองใหญ่ 2 ใบ ในการบรรเลงพร้อมกันเป็นครั้งแรกโดยนักบรรเลงกลองแจ๊สชื่อว่า
หลุย เบลซัน (Louie Bellson, ค.ศ.
1924-2009)
![]() |
กลองชุด (Drum Set) |
ช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่สอง
ในปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่มีความต้องการในดนตรีสวิงเป็นอย่างมาก
เพราะทหารต้องการฟังเพลงหลังจากออกรบ ในระหว่างช่วงสงครามนักบรรเลงกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเดิมๆ
และริเริ่มคิดจังหวะใหม่โดยเกิดจากการบรรเลงร่วมกัน (Jam Sessions) ของนักดนตรีหลังเลิกจากงานในวงบิกแบนด์ ที่ Minton’s Playhouse ในย่านฮาเล็ม จนเกิดเป็นดนตรีบีบ๊อพในเวลาต่อมา
ในปี ค.ศ.
1948 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงรสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง
ดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo) เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเป็นดนตรีที่ได้รับอิทธิพลจากดนตรีบิกแบนด์
(Big Band) ซึ่งยังคงเป็นในแบบดนตรีเต้นรำ โดยเรียกกันว่า ริทึมแอนด์บลูส์
(Rhythm and Blues) โดยผู้บรรเลงกลองจะเล่นในจังหวะที่ 2
และ4 โดยบรรเลงที่กลองสแนร์ตลอดทั้งเพลง
ในช่วงปี ค.ศ. 1962 -1964 เมื่อ ริงโก สตาร์ (Ringo Starr, ค.ศ. 1940-ปัจจุบัน) นักบรรเลงกลองแห่งวง
เดอะบีทเทิลส์ (The Beatles) ได้ทำการแสดงออกในรายการโทรทัศน์ที่ประเทศอเมริกา
ทำเกิดคนทั่วไปเกิดแรงจูงใจในการบรรเลงกลองเป็นจำนวนมาก และในช่วงปีค.ศ. 1960 – 1980 ผู้บรรเลงกลองนิยมบรรเลงกลองชุดชุดใหญ่ ซึ่งมีกลองและฉาบหลายใบ เช่น บิลลี่
ค็อปแฮม (Billy Cobham, ค.ศ. 1944-ปัจจุบัน) ฟีล คอลลิน (Phil Collins, ค.ศ. 1951-ปัจจุบัน) ไซมอน ฟิลิปซ์ (Simon Phillips, ค.ศ. 1957-ปัจจุบัน) และนีล เพิท
(Neil Peart, ค.ศ. 1952-ปัจจุบัน)และในช่วงเวลานี้ยังมีการเริ่มใช้กลองไฟฟ้าอีกด้วย
![]() |
กลองไฟฟ้า (Electronic Drum) |
ส่วนประกอบของกลองชุด
กลองชุด
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะตีกลองชุดประกอบด้วยกลองและฉาบลักษณะต่างๆหลายใบรวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียวและใช้ไม้กลองเพื่อตีควบคุมจังหวะกลองชุดเป็นเครื่องดนตรีทีให้เสียงหนักแน่น
สามารถให้จังหวะที่แข็งแรงในการเล่นสนับสนุนวงและรวมถึงการด้นสดอีกด้วย
กลองชุดเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมทั่วโลกกลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับกลองชุดมีดังนี้
1.กลองใหญ่ (Bass drum) เป็นกลองที่ลักษณะคล้ายกับกลองใหญ่ที่บรรเลงในวงดุริยางค์
แต่จะมีขาหยั่งไว้สาหรับวางที่ด้านหน้าของตัวกลองเพื่อไม่ให้กลองเคลื่อนที่ ขนาดของกลองใหญ่ที่นิยมใช้ทั่วไป
คือ ขนาด 20 และ 22 นิ้ว
แต่ในการบรรเลงเพลงร็อก จะนิยมใช้ขนาด 24 นิ้ว
การบรรเลงเพลงแจ๊ส(Jazz) นิยมใช้ขนาด 18 นิ้ว และในการบรรเลงวงใหญ่ นิยมใช้ขนาด 26 นิ้ว การบรรเลงกลองใหญ่
จะใช้เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่อง(Pedal) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่ติดตั้งอยู่ที่ด้านหลังกลองใหญ่
มีลักษณะเป็นแป้นเหยียบซึ่งมีก้านเหล็กและหัวนวมติดอยู่ที่ตัวกระเดื่อง
สรวิศ แย้มลักษณะเลิศ. (2557). การวิเคราะห์การบรรเลงกลองโดยใช้แส้ของ เคลย์ตัน คาเมรอน.ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สิทธิพงศ์ สินธุปี. (2557). การวิเคราะห์การด้นสดสลับเปลี่ยนของ แจ็ค ดิจอห์นเน็ต.ปริญญาดุริยางคศาสตรมหา
บัณฑิต, กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น