วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

ดนตรีไทย

ดนตรีไทย

ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย

         ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล
         ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง
         ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ ๑ เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก ๑ ลูก รวมเป็น ๒ ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่๒ ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่๓ พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่
        ในรัชกาลที่๔ เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก ในรัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ ๖ นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดย หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม แล้วจึงเป็นดนตรีไทยที่เราได้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งความแตกต่างระหว่างวงต่างๆ ผู้ประพันธ์ท่านต่างๆ


ลักษณะเสียงของดนตรีไทย

        ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของเครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (chord) เป็นพื้นฐานหลักตามแบบสากล

  ลีลาดนตรีไทย

        ลีลาเครื่องดนตรีไทย หมายถึงท่วงท่าหรือท่วงทำนองที่เครื่องดนตรีต่างๆได้บรรเลงออกมา สำหรับลีลาของเครื่องดนตรีไทยแต่ละเครื่องที่เล่นเป็นเพลงออกมา บ่งบอกถึงคุณลักษณะและพื้นฐานอารมณ์ที่จากตัวผู้เล่น เนื่องมาจากลีลาหนทางของดนตรีไทยนั้นไม่ได้กำหนดกฏเกณฑ์ไว้ตายตัวเหมือนกับดนตรีตะวันตก หากแต่มาจากลีลาซึ่งผู้บรรเลงคิดแต่งออกมาในขณะเล่น เพราะฉะนั้นในการบรรเลงแต่ละครั้งจึงอาจมีทำนองไม่ซ้ำกัน แต่ยังมี ความไพเราะและความสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆอยู่   ลักษณะเช่นนี้ได้อิทธิพลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มี"กฎเกณฑ์" อยู่ที่การวาง "กลอน" ลงไปใน "ทำนองหลัก" ในที่นี้ หมายถึงในเพลงไทยเดิมนั้นเริ่มต้นด้วย "เนื้อเพลงแท้ๆ" อันหมายถึง "เสียงลูกตก" ก่อนที่จะปรับปรุงขึ้นเป็น "ทำนองหลัก" หรือที่เรียกว่า "เนื้อฆ้อง" อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในชั้นเนื้อฆ้องนี้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นทำนองห่างๆ ยังไม่มีความซับซ้อนมาก แต่ยังกำหนดลักษณะในการเล่นไว้ให้ผู้บรรเลงแต่ละคนได้บรรเลงด้วยลีลาเฉพาะของตนในกรอบนั้นๆ โดยลีลาที่กล่าวมาก็หมายถึง "กลอน" หรือ "หนทาง" ต่างๆที่บรรเลงไปนั่นเอง

วงดนตรีไทย

       ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ

วงปี่พาทย์

      ประกอบด้วยเครื่องตีเป็นสำคัญ เช่น ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเป็นประธานได้แก่ ปี่ นอกจากนั้นเป็นเครื่อง วงปี่พาทย์ยังแบ่งไปได้อีกคือ วงปี่พาทย์ชาตรี,วงปี่พาทย์ไม้แข็ง,วงปี่พาทย์เครื่องห้า,วงปี่พาทย์เครื่องคู่,วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่,วงปี่พาทย์ไม้นวม,วงปี่พาทย์ดึกดำบบรพ์,วงปี่พาทย์มอญ,วงปี่พาทย์นางหงส์

วงปี่พาทย์ชาตรี

วงปี่พาทย์เครื่องห้า

วงปี่พาทย์เครื่องคู่

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

วงปี่พาทย์ไม้นวม

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

วงปี่พาทย์นางหงส์

วงเครื่องสาย

       เครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรี ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีสายเป็นประธาน มีเครื่องเป่า และเครื่องตี เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว,วงเครื่องสายเครื่องคู่,วงเครื่องสายผสม,วงเครื่องสายปี่ชวา

วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว

วงเครื่องสายเครื่องคู่

วงเครื่องสายผสมไวโอลิน-เปียโน

วงเครื่องสายผสมขิม

วงเครื่องสายผสมปี่พาทย์

วงเครื่องสายปี่ชวา(เครื่องเดี่ยว)

วงมโหรี

        ในสมัยโบราณเป็นคำเรียกการบรรเลงโดยทั่วไป เช่น "มโหรีเครื่องสาย" "มโหรีปี่พาทย์" ในปัจจุบัน มโหรี ใช้เป็นชื่อเรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีเครื่อง ดีด สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกันหมด ฉะนั้นวงมโหรีก็คือวงเครื่องสาย และวงปี่พาทย์ ผสมกัน วงมโหรีแบ่งเป็นตามนี้ วงมโหรีเครื่องสี่,วงมโหรีเครื่องหก,วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก,วงมโหรีเครื่องคู่


วงเครื่องมโหรีเครื่องสี่

วงมโหรีเครื่องหก

วงมโหรีเครื่องเดี่ยว

วงมโหรีเครื่องคู่

เอกสารอ้างอิงและที่มา

https://sites.google.com/site/nuknik31bangli/

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

กลองชุด Drum set

ประวัติกลองชุด


            กลอง เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ทีสุด เปรียบเสมือนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกของมนุษย์ ในอดีตมนุษย์ขึงหนังสัตว์บนรูกลวงของท่อนไม้ โดยตีหนังสัตว์ด้วยนิ้วและมือ เพื่อให้จังหวะสำหรับการเต้นรำ ระหว่างชนเผ่า ต่อมาคนรุ่นใหม่ ก็ได้พัฒนาต่อ โดยนำเอากลองหลากหลายใบและฉาบมาร่วมบรรเลงด้วยกันเรียกว่า กลองชุด (Drum Set)
                กลองชุดมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ประมาณปี ค.. 1900 จากการเล่าสู่กันฟังของบรรพบุรุษ กลองชุดในยุคแรกได้นำไปบรรเลงในละครเบ็ดเตล็ด (Vaudeville) เนื่องด้วยต้องการลดจำนวนคนในการเล่นเครื่องเคาะตี (Percussion) ซึ่งในวงทหารและวงออร์เคสตรา (Orchestral) จะใช้ผู้บรรเลงหลายคน กลองชุดพัฒนาโดยนำกลองใหญ่ (Bass Drum) ใช้เป็นศูนย์กลางแล้วนำเครื่องเคาะตีอื่นๆมาล้อมรอบ เช่น กลองสแนร์ (Snare Drum) กลองทอม (Tom) และฉาบ (Cymbal)และสร้างขาตั้งเพื่อวางฉาบและอุปกรณ์อื่นๆ เข้าด้วยกันซึ่งพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
         ในปี ค.. 1890 นักบรรเลงกลองเริ่มใช้ กระเดื่องบรรเลงกลองใหญ่ เป็นครั้งแรกซึ่งเป็นต้นกำเนิดแนวคิดในการสร้างกลองชุด โดยจะนั่ง บรรเลงด้วยผู้บรรเลงคนเดียวซึ่งมีกลองแค่ 2ใบ คือกลองใหญ่ และกลองสแนร์ ซึ่งก่อนหน้านั้นในวงทหารและวงออร์เคสตราจะใช้ผู้บรรเลงหลายคน
       ในช่วง ค.. 1890 ถึง ค.. 1910 หลังจากได้คิดค้นกระเดื่องบรรเลงกลองใหญ่นักบรรเลงกลองได้พัฒนาทั้งวิธีการบรรเลงโดยแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรีแทนแบบเก่าที่มีแบบแผนบังคับให้ปฏิบัติตามการแสดงโดยการบรรเลงกลองเชื่อมประโยค (Fill In) และพัฒนาอุปกรณ์ในการประกอบเป็นกลองชุด
          ในปี ค.. 1920 ได้มีการคิดค้นขาตั้งฉาบไฮแฮทแทนแบบเดิมและเริ่มนำมาใช้ในกลองชุด
         ใน ค.. 1930 ได้มีการผลิตกลองชุดที่ได้มาตรฐานออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกและผู้ทำให้เป็นที่นิยมคือผู้บรรเลงกลองชื่อ เบน ดันแคน
         ต่อมาในปี ค.. 1928 ถึง ค.. 1935 เป็นยุคของ บิกแบนด์แจ๊ส (Big Band Jazz) จังหวะของดนตรีมีทั้งจังหวะเร็วและช้า การบรรเลงจังหวะช้านั้นเริ่มมีการใช้แส้ (Wirebrushes)นักบรรเลงกลองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้และวิธีการบรรเลงแส้และนักบรรเลงกลองต้องเป็นผู้ที่ตั้งจังหวะในบทเพลงพร้อมทั้งยึดจังหวะให้มั่น คง ซึ่งเครื่องดนตรีอื่นๆ จะปฏิบัติตามจังหวะกลองชุด
        ปี ค.. 1935 จังหวะแบบใหม่ที่มีชื่อว่า สวิง (Swing) เริ่มแพร่หลายช่วงตอนต้นของปี บทเพลงทุกเพลงต้องมีกลองชุดเข้าร่วมบรรเลงด้วยเสมอ และต้องมีการบรรเลงด้นสดเดี่ยวถึงขนาดนักบรรเลงกลองชุดที่มีชื่อเสียง นำชื่อของตนเองมาตั้งเป็นชื่อของวงดนตรี ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคของนักบรรเลงกลองชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เช่น จีน ครูปา และบัดดี ริช โดยในปีค.. 1940 มีการใช้กลองใหญ่ 2 ใบ ในการบรรเลงพร้อมกันเป็นครั้งแรกโดยนักบรรเลงกลองแจ๊สชื่อว่า หลุย เบลซัน (Louie Bellson, .. 1924-2009)

กลองชุด (Drum Set)

        ช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.. 1940 เป็นช่วงที่มีความต้องการในดนตรีสวิงเป็นอย่างมาก เพราะทหารต้องการฟังเพลงหลังจากออกรบ ในระหว่างช่วงสงครามนักบรรเลงกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเดิมๆ และริเริ่มคิดจังหวะใหม่โดยเกิดจากการบรรเลงร่วมกัน (Jam Sessions) ของนักดนตรีหลังเลิกจากงานในวงบิกแบนด์ ที่ Minton’s Playhouse ในย่านฮาเล็ม จนเกิดเป็นดนตรีบีบ๊อพในเวลาต่อมา
       ในปี ค.. 1948 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงรสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง ดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo) เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเป็นดนตรีที่ได้รับอิทธิพลจากดนตรีบิกแบนด์ (Big Band) ซึ่งยังคงเป็นในแบบดนตรีเต้นรำ โดยเรียกกันว่า ริทึมแอนด์บลูส์ (Rhythm and Blues) โดยผู้บรรเลงกลองจะเล่นในจังหวะที่ 2 และ4 โดยบรรเลงที่กลองสแนร์ตลอดทั้งเพลง
        ในช่วงปี ค.. 1962 -1964  เมื่อ ริงโก สตาร์ (Ringo Starr, .. 1940-ปัจจุบัน) นักบรรเลงกลองแห่งวง เดอะบีทเทิลส์ (The Beatles) ได้ทำการแสดงออกในรายการโทรทัศน์ที่ประเทศอเมริกา ทำเกิดคนทั่วไปเกิดแรงจูงใจในการบรรเลงกลองเป็นจำนวนมาก และในช่วงปีค.. 1960 – 1980  ผู้บรรเลงกลองนิยมบรรเลงกลองชุดชุดใหญ่ ซึ่งมีกลองและฉาบหลายใบ เช่น บิลลี่ ค็อปแฮม (Billy Cobham, .. 1944-ปัจจุบัน) ฟีล คอลลิน (Phil Collins, .. 1951-ปัจจุบัน) ไซมอน ฟิลิปซ์ (Simon Phillips, .. 1957-ปัจจุบัน) และนีล เพิท (Neil Peart, .. 1952-ปัจจุบัน)และในช่วงเวลานี้ยังมีการเริ่มใช้กลองไฟฟ้าอีกด้วย

กลองไฟฟ้า (Electronic Drum)

ส่วนประกอบของกลองชุด

          กลองชุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะตีกลองชุดประกอบด้วยกลองและฉาบลักษณะต่างๆหลายใบรวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียวและใช้ไม้กลองเพื่อตีควบคุมจังหวะกลองชุดเป็นเครื่องดนตรีทีให้เสียงหนักแน่น สามารถให้จังหวะที่แข็งแรงในการเล่นสนับสนุนวงและรวมถึงการด้นสดอีกด้วย กลองชุดเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมทั่วโลกกลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับกลองชุดมีดังนี้

         1.กลองใหญ่ (Bass drum) เป็นกลองที่ลักษณะคล้ายกับกลองใหญ่ที่บรรเลงในวงดุริยางค์ แต่จะมีขาหยั่งไว้สาหรับวางที่ด้านหน้าของตัวกลองเพื่อไม่ให้กลองเคลื่อนที่ ขนาดของกลองใหญ่ที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 20 และ 22 นิ้ว แต่ในการบรรเลงเพลงร็อก จะนิยมใช้ขนาด 24 นิ้ว การบรรเลงเพลงแจ๊ส(Jazz) นิยมใช้ขนาด 18 นิ้ว และในการบรรเลงวงใหญ่ นิยมใช้ขนาด 26 นิ้ว การบรรเลงกลองใหญ่ จะใช้เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่อง(Pedal) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่ติดตั้งอยู่ที่ด้านหลังกลองใหญ่ มีลักษณะเป็นแป้นเหยียบซึ่งมีก้านเหล็กและหัวนวมติดอยู่ที่ตัวกระเดื่อง

กลองเบสดรัม (Bass Drum)


         2.กลองสแนร์ (Snare drum) เป็นกลองใบเล็กคล้ายกับกลองสแนร์ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์แต่ความสูงจะน้อยกว่า มีลักษณะเด่นคือจะมี แส้สแนร์ (Snare wire) มีลักษณะเป็นเส้นลวดจำนวนหลายเส้น ขึงอยู่กับหนังกลองที่ด้านใต้ของตัวกลอง ขนาดของกลองสแนร์ที่นิยมใช้ คือ 6 x 14 นิ้ว กลองสแนร์มีบทบาทสาคัญในการบรรเลงกลองโดยใช้แส้ โดยจะใช้แส้วน กวาด หรือตีไปที่กลองสแนร์นี้เป็นหลัก ทั้งในการบรรเลงรูปแบบหลัก และการด้นสด

กลองสแนร์ (Snare Drum)

         3.ฉาบ (Cymbals) เป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งของกลองชุด ลักษณะเหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์ ฉาบมีหลากหลายขนาด โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบหลัก 2 ใบ ได้แก่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-24 นิ้ว วางไว้ทางขวามือ ฉาบชนิดนี้เรียกว่า ไรด์ (Ride) และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 14-19 นิ้ว วางไว้ทางซ้ายมือฉาบชนิดนี้เรียกว่า แครช (Crash) และนอกจากนี้ยังมีขนาดที่น้อยกว่า 14 นิ้ว วางไว้ตามตา แหน่งต่าง ๆ รอบกลองเพื่อเล่นเสริมฉาบหลักทั้งสองใบเรียกว่า สแปลช (Splash) ฉาบทุกใบจะไม่มีเชือกผูกติดอยู่แต่จะมีขาหยั่งเพื่อวางฉาบ เวลาบรรเลงจะใช้ไม้กลองหรือแส้ตีที่ฉาบด้านบนเพื่อให้เสียงสั้น และตีที่ขอบเพื่อให้เสียงที่ยาว

ฉาบ (Cymbals)

        4.ไฮแฮท (Hi-hat) คือ ฉาบสองใบที่นามาประกบกัน โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 13-15 นิ้ว ฉาบทั้งสองใบจะวางอยู่ทางด้านซ้ายมือของกลองชุด โดยมีขาตั้งไฮแฮทรองรับ ใบหนึ่งวางลงบนขาตั้งในลักษณะหงายขึ้น และอีกใบหนึ่งวางคว่า ลงโดยเสียบอยู่กับตัวจับไฮแฮท ซึ่งมีลักษณะเป็นโลหะโดยสามารถใส่ไฮแฮทเข้าไปได้จากรูตรงกลาง และขันน็อตเกลียวให้แน่น ตัวจับไฮแฮทจะมีก้านหมุนเพื่อจับกับแกนเหล็กบนขาตั้งอีกทีหนึ่ง เพื่อทา การตั้งระยะห่างของฉาบทั้งสองใบ โดยให้ระยะห่างกันพอประมาณเพื่อไม่ให้ฉาบทั้งสองใบชิดติดกันทางด้านล่างของขาตั้งจะมีกระเดื่องสามารถเหยียบเพื่อให้ฉาบทั้งสองใบตีกระทบกัน หรือสามารถเหยียบหรือปล่อยเพื่อกำหนดระยะห่างของฉาบทั้งสองในการใช้ไม้กลองหรือแส้ตีที่ไฮแฮท โดยยิ่งฉาบห่างกันมากก็จะให้เสียงที่ยาวมากขึ้น
ไฮแฮท (Hi Hat)

       5.ทอม ทอม (Tom tom) คือ กลองขนาดเล็กหลายใบ ในกลองชุดปกตินิจะยมใช้จำนวนสองใบ โดยทั่วไปนิยมใช้ ทอม ทอม ขนาด 9 x 13 นิ้วและขนาด 14 x 14 นิ้ว โดยใบเล็กจะถูกติดตั้งอยู่ทางด้านซ้าย และใบใหญ่จะติดตั้งทางด้านขวา ทั้งสองใบจะมีตัวจับทอม เพื่อติดตั้งลงบนแกนที่ติดกับกลองใหญ่ เสียงของ ทอม ทอม ด้านซ้ายจะให้เสียงที่สูงกว่าด้านขวา การบรรเลงจะใช้ไม้หรือแส้ตีลงบนกลอง ทอม ทอม โดยส่วนใหญ่จะใช้บรรเลงในบทส่ง (Fill in) หรือการด้นสดกลองชุด

ทอม (Tom)

       6.ฟลอร์ทอม (Floor tom) คือ กลองทอมใบใหญ่ มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับกลองทอม ทอม แต่มีขนาดที่ลึกและกว้างกว่าและจะมีขาตั้งติดกับตัวฟลอร์ทอม เพื่อตั้งอยู่ด้านขวามือชิดกับกลองใหญ่ เสียงของฟลอร์ทอมจะต่ำกว่าเสียงทอม ทอม แต่เสียงสูงกว่าเสียงกลองใหญ่โดยทั่วไปนิยมใช้ฟลอร์ทอมขนาด 16 x 16 นิ้ว

ฟลอทอม (Frool Tom)

        และนี่ก็คือประวัติกลองชุดและส่วนประกอบต่างๆของกลองชุดทั้งหมด รวมไปถึงความเป็นมาของกลองชุดว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง เริ่มจากอะไรและวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรกว่าจะมาเป็นกลองชุดและกลองไฟฟ้าให้มาดูและใช้ในปัจจุบัน



เอกสารอ้างอิงและที่มา

         สรวิศ แย้มลักษณะเลิศ. (2557). การวิเคราะห์การบรรเลงกลองโดยใช้แส้ของ เคลย์ตัน คาเมรอน.ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
        สิทธิพงศ์ สินธุปี. (2557). การวิเคราะห์การด้นสดสลับเปลี่ยนของ แจ็ค ดิจอห์นเน็ต.ปริญญาดุริยางคศาสตรมหา
บัณฑิต, กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

บองโก้(Bongo) และ คองก้า(Conga)



บองก้า(Bongo) และ คองก้า(Conga)


                       

            มีหลายคนอาเข้าใจผิดมาตลอดว่ากลองประเภทนี้คือกลองทอม กลองลูกเสือ กลองสันทนาการ ตามจริงแล้วมันไม่ใช่ กลองทั้ง 2 ชนิดนี้มีชื่อเฉพาะของมันด้วยนะ เอาเป็นว่าเรามาทำความรู้จักกับเครื่องดนตรี 2 ชนิดนี้กันดีกว่า ใครอยากรู้ตามมาเลย!!!

           งั้นเดี๊ยวเริ่มกันที่กลองที่มีขนาดเล็กเสียงแหลมก่อนเลยละกัน...???

        บองโก้(Bongo) เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากคิวบา เป็นกลองขนาดเล็ก ขึงหนังกลองหน้าเดียว ประกอบด้วยกลองสองตัวยึดตึดกัน กลองลูกใหญ่มีชื่อในภาษาสเปนว่า "เฮมบรา" (hembra, ตัวเมีย) ลูกเล็กมีชื่อว่า "มาโช" (macho, ตัวผู้) ใช้เคาะด้วยนิ้ว หรือไม้กลอง มักถูกใช้เคาะผสมกับกลองคองกาเพื่อแต่งเติมสีสันให้กับเสียงเพลง เครื่องเคาะรูปแบบนี้ มักถูกพบเห็นได้ในคอนเสิร์ตเพลงแนว ละติน รวมไปถึง คอนเสิร์ตเพลงแนว ลาติน , ดิสโก้ , โซล , ฟังค์ , แจ๊ส , ป็อบร็อค , เร้กเก้ , สกา ในบางครั้ง สำหรับในประเทศไทย บองโก้ยังถูกนำไปเคาะผสมกับเพลงเพื่อชีวิต และเพลงลูกทุ่ง อีกด้วย





ลักษณะการเล่นบองโก้

ช้ข้างหัวเข่าในการหนีบ

ใช้ตั้งขาสำหรับวางบองโก้


        ระดับเสียงของกลอง 2 ใบ ตั้งให้ห่างกันในระดับคู่ 4 หรือ คู่ 5 โดยประมาณ หนังกลองบองโก จะตั้งให้ตึงกว่ากลองคองกา กลองบองโกทั้ง 2 ใบ จะติดตั้งกับอุปกรณ์ยึดติดให้อยู่คู่กัน ขณะที่ตีกลองผู้ตีจะต้องหนีบกลองทั้ง 2 ใบ ให้อยู่ระหว่างขาทั้งสองข้างหนีบไว้ด้วยหัวเข่า หรือวางไว้บนขาตั้งโลหะก็ได้ กลองบองโกจะต้องตีด้วยปลายนิ้วมือและฝ่ามือเช่นเดียวกับกลองคองกา หรือไม้กลอง (ผู้เล่นส่วนใหญ่จะนิยมเคาะด้วยมือ)

       ที่นี้เราก็ได้ทราบกันแล้วนะครับว่ากลองใบเล็กๆนี้มีชื่อ "บองโก้(Bongo)" ต่อไปเรามารู้จักกับกลองอีกชนิดหนึ่งที่หลายคนได้เคยสัมผัสและพบเจอบ่อยที่สุด ใครอยากรู้ว่ามันมีชื่อเรียกว่าอะไรตามมาเลยละกัน


        คองก้า(Conga) หรือ ทุมบาโดรา (สเปน: tumbadora) เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากคิวบา มีพื้นฐานมาจากกลองมาคูทาที่พัฒนามาจากแอฟริกา เป็นกลองทรงสูง ขึงหนังหน้าเดียว ใช้ตีด้วยนิ้วสี่นิ้ว และด้วยฝ่ามือ ที่กลางผืนหนัง และที่ขอบ ปัจจุบันกลองคองกาเป็นเครื่องดนตรีมาตรฐานสำหรับดนตรีละติน ซึ่งรวมไปถึงซัลซา รุมบา เมอแรงเก และเร็กเก้ (หลายครั้งที่กลองชนิดนี้ถูกใช้เคาะผสมกับดนตรีแนวดิสโก้ ฟังก์ ป็อบ นูแจ๊ส สกา ฯลฯ) วงดนตรีในประเทศไทยที่นำคองกาไปเล่น เช่น Groove Riders Crescendo คาราบาว เป็นต้น
        กลองคองก้าในอดีต ทำจากท่อนไม้ขุด ปัจจุบันทำด้วยไม้อัดแผ่นดัดโค้ง หรือไฟเบอร์กลาส ปรับความตึงของหนังกลองด้วยการขันสกรู ในการเล่นจะใช้กลองตั้งแต่ 2 ใบจนถึง 6 ใบเลยทีเดียว

        กลองคองก้า มีหลายขนาด มีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้

  • ซูเปอร์ทุมบา (supertumba) ขนาดใหญ่ที่สุด มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14 นิ้ว (35.5 cm)
  • ทุมบา (tumba) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ถึง 12.5 นิ้ว (30.5 - 31.8 cm)
  • คองกา (conga) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 11.5 ถึว 12 นิ้ว (29.2 - 30.5 cm)
  • ควินโต (quinto) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 นิ้ว (28 cm)
  • เรควินโต (requinto) มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10 นิ้ว (24.8 cm)
  • ริคาร์โด (ricardo) มีขนาดเล็กที่สุด มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 นิ้ว (22.9 cm)
เรามาชมหน้าตาของกลองคองก้าทั้ง 6 ใบกัน

บุคคลในภาพนนี้คือ "Giovanni Hidalgo" มือคองก้าระดับโลก
เดี๊ยวเรามารู้ความเป็นมาและที่มาที่ไปของคองก้า(Conga)กันดีกว่า...

        เรื่องมันเริ่มมาจากคาร์นิวัลในประเทศคิวบาครับ ชาวคิวบานิยมเล่นจังหวะหนึ่งในงานคาร์นิวัลเรียกว่า “คองก้า เด กัมปาร์ซา – Conga de Comparsa” ชื่อจังหวะนี้อาจจะไม่คุ้นหูชาวไทยเท่าไหร่ จังหวะ Conga de Comparsa นี้ใช้เครื่องดนตรีจำนวนมากในการเล่น อาทิเช่น บอมโบ้- Bombo (กลองใหญ่ที่ใช้เล่นเสียงเบส), คาวเบลและเครื่องเป่าจำนวนมาก แต่เครื่องดนตรีที่เด่นออกมาเครื่องหนึ่งคือกลองคองก้า ที่ในสมัยนั้นนิยมเอากลองใส่สายสะพายไหล่แล้วเดินเล่น ทีนี้จังหวะนี้เริ่มเข้ามาโด่งดังในอเมริกาช่วง 1940’s ชาวอเมริกันนั้นก็ไม่ได้ใส่ใจจะเรียกกลองเหล่านี้ตามชื่อเดิมคือ Tumbadora เหมือนที่ชาวคิวบาเรียก กลับเรียกแบบรวมๆ “อ๋อ.. ไอ้กลองที่ใช้เล่นจังหวะคองก้าไง”

…ตั้งแต่นั้นมา กลองนี้จึงได้ชื่อเรียกใหม่ว่า คองก้า(Conga)

        จนในปัจจุบัน Conga จึงไม่ได้มีความหมายแค่ชื่อจังหวะเท่านั้น แต่หมายรวมถึงตัวกลองด้วย กลายเป็นคำนามที่เปลี่ยนเป็นพหูพจน์ได้ด้วย (Congas หมายถึงกลองคองก้าตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไป)
        ไม่น่าเชื่อใช่มั้ยครับว่าแค่ชื่อกลองจะมีที่มาที่ไปเป็นเรื่องเป็นราวได้ขนาดนี้ แต่ดนตรีแนว Afro-Cuban นี้เป็นดนตรีพื้นบ้านที่พัฒนามาประมาณ 300-400 ปีแล้วย่อมมีเรื่องราวทางวัฒนธรรมฝังอยู่ในดนตรีมากมาย
         และนี่ก็คือทั้งหมดของกลองที่มีชื่อ"บองโก้(Bongo) และ คองก้า(Conga)"

         เอกการอ้างอิงและที่มา

https://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.wikiwand.com/th/
https://www.foofoo.me/5-things-about-congas/
https://www.foofoo.me/whyconga/

มาทำความรู้จักกับโน้ตบุ๊คกัน???

มาทำความรู้จักกับโน้ตบุ๊คกัน???

โน้ตบุ๊ค (Notebook)

       โน้ตบุ๊ค (Notebook)  สำหรับโน้ตบุ๊คหลายคนคงรู้จักหรือมีใช้งานด้วย  โน้ตบุ๊คเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งในปัจจุบันมีใช้กันทั่วไปมีมากขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กใช้แทนกันกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเนื่องจากมีความสะดวกในการพกพาไปไหนมาไหนได้ดี  ประหยัดพื้นที่ในการทำงาน  ซื้อมาแล้วมีอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ครบ เมื่อก่อนนั้นมีราคาที่แพงมากแต่ปัจจุบันมีราคาที่ถูกลงมากและมีประสิทธิภาพมากขึ้นราคาทั่วไปจึงไม่ได้ต่างจากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมากนักจึงหันมาใช้งานโน้ตบุ๊คแทนมากขึ้น 


ส่วนประกอบของ Notebook

           โดยพื้นฐานแล้วส่วนประกอบหลักๆของ Notebook กับ Desktop PC ก็จะมีความคล้ายคลึงกัน เพราะเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานหลักๆเหมือนกัน อาจจะมีบางส่วนที่หดหายไปรวมกับตัวเมนบอร์ดเพื่อลดขนาดลง ดังนั้นหากใครพอจะรู้ทางด้าน Desktop PC มาบ้างก็คงจะเข้าใจได้รวดเร็ว ส่วนคนที่ไม่รู้อะไรเลยก็สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยากแน่นอนครับ
       เดี๊ยวเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบโน้ตบุ๊คกันเลยดีกว่า เริ่มจากส่วนประกอบภายนอกของโน้ตบุ๊คกันเลย!!!

ส่วนด้านหน้าของโน้ตบุ๊ค

     
 จากภาพประกอบจะพูดถึงรายละเอียดคร่าวๆ พอให้รู้จักส่วนต่างๆ กันไปก่อน แล้วจะค่อยๆเจาะลึกแต่ละส่วน

A : หน้าจอแสดงผล หรือจอแอลซีดี(LCD) สำหรับแสดงผลให้เราสามารถติดต่อและทำงานกับเครื่อง         คอมพิวเตอร์ได้
B : กล้องเว็บแคม ส่วนมากโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ จะมีมาให้ด้วยเสมอ กล้องนี้ก็มีไว้สำหรับใช้สนทนาผ่าน           กล้องเว็บแคม หรือวิดีโอคอลเป็นต้น
C : ปุ่มเปิดเครื่อง สำหรับปุ่มเปิดเครื่องแต่ละรุ่น ก็อาจจะอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน
D : คีย์บอร์ด สำหรับพิมพ์ หรือป้อนข้อมูลเข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
E : ทัชแพ็ด (Touchpad) คือเมาส์แบบทัชแพ็ด สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์ในการทำงาน
F : ปุ่มกดคลิ๊กซ้าย/ขวา ใช้สำหรับคลิ๊ก และคลิ๊กขวา ตามลำดับ เหมือนกับการใช้ในเมาส์แบบทั่วๆไป 

ส่วนด้านขวาของโน้ตบุ๊ค

G : พอร์ท USB 3.0 สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ๆ จะมีพอร์ทที่รองรับ USB 3.0
H : ออปติคอลไดรว์ หรือ DVD Drive สำหรับอ่าน CD/DVD หรือแผ่นดิสก์ทั่วไป
I : ช่องเสียบ USB
J : ช่องเสียบสายชาร์จโน๊ตบุ๊ค

ส่วนด้านซ้ายของโน้ตบุ๊ค

K : ช่องระบายความร้อน
L : พอร์ตเสียบสายแลน (Ethernet RJ-45)
M : พอร์ต VGA สำหรับกับจอแสดงผลภายนอก
N : พอร์ตต่างๆ เช่น USB ช่องเสียบไมโครโฟน ช่องเสียบลำโพง

       เราก็ได้ทำความรู้จักกับส่วนประกอบภายนอกของโน้ตบุ๊คกันไปแล้วนะครับ ต่อไปเราจะเข้าไปดูส่วนประกอบภายในของโน้ตบุ๊คกันว่าข้างในนั้นมีอะไรอยู่บ้าง ทำไมถึงสามารถทำงานอะไรได้หลายแบบอัจฉริยะได้ขนาดนี้ ตามมาเลย!!!

  •  CPU
       สำหรับ CPU นั้น ย่อมาจากคำว่า Central Processing Unit โดยเปรียบได้กับสมองของคนเราจะทำหน้าที่ประมวลผลต่างๆตามที่ได้รับคำสั่ง ซึ่ง CPU ที่ใช้งานกันใน Notebook นั้นจะแตกต่างกับ CPU ที่ใช้กันตาม Desktop PC ทั่วไป โดยได้รับการออกแบบมาให้กินพลังงานต่ำกว่าที่ใช้งานตาม Desktop PC ทั่วไป แต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าซักเท่าไหร่ CPU แบบนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า CPU แบบ Mobile Technology ปัจจุบันมีอยู่ 2 ยี่ห้อที่ได้รับความนิยมอยู่ในอันดับต้นๆ คือ Intel และ AMD ซึ่งดูเหมือนว่าสำหรับตลาดทางด้าน Notebook Intel จะครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้ในสัดส่วนที่มากกว่า
Central Processing Unit  (CPU)

  • Chipset

       ถ้า CPU เปรียบเสมือนกับสมองของคนเราแล้วล่ะก็ Chipset ซึ่งอยู่บน Mainboard จะทำหน้าที่ควบคุม Mainboard ซึ่งเปรียบได้กับร่างกายของคน ให้คอยทำงานตามที่สมอง (CPU) สั่งการ สำหรับตัว Mainboard ใน Notebook นั้นจะรวมเอาส่วนประกอบหลายๆอย่างที่ใน Desktop PC อาจจะมีการต่อแยกเข้าไว้ด้วยกัน โดยหลักๆใน Notebook ต่างๆจะประกอบไปด้วยระบบเสียง, LAN, Modem, Card Reader, Express Slot และ USB Port  ปัจจุบันยี่ห้อที่ครองตลาดส่วนใหญ่ก็จะเป็นของ Intel อีกเช่นเคย จะมีบางยี่ห้อเท่านั้นที่ผู้ผลิตจะเลือกใช้เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เช่น Sis แต่ผมขอแนะนำว่าให้ใช้ Chipset จากทาง Intel จะดีที่สุดครับ เพื่อความเข้ากันของระบบ ปัจจุบันนี้ Chipset ที่ใช้งานกันจะเป็นรุ่น GM965 หรือ PM965 ครับ ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดที่ทาง Intel พัฒนาออกมาโดยปรับปรุงในเรื่องต่างๆให้ดีขึ้นจากตัวเก่า

Chipset

  • RAM


       Ram ย่อมาจาก Random Access Memory ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลที่รอการถูกเรียกใช้งาน หรือรอการถูกประมวลผลจาก CPU ปัจจุบัน ขนาดต่ำสุดที่ยังสามารถพบเห็นกันได้ใน Notebook จะอยู่ที่ 512 MB เพราะในปัจจุบัน Ram มีราคาที่ถูกลงมามากแล้ว ทำให้ผู้ผลิต Notebook หลายๆเจ้าเลือกที่จะใช้งานหน่วยความจำในระดับ 1 GB ขึ้นไป แต่ยังมีการใช้งานหน่วยความจำขนาด 512 MB กันบ้างใน Notebook ราคาถูก และความเร็วของ BUS ณ ปัจจุบันที่ใช้งานกันทั่วไปจะอยู่ที่ 667 MHz ครับ
Random Access Memory (RAM)

  • Harddisk Drive
       เป็นสื่อบันทึกข้อมูล ที่ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลง หนัง หรืองานต่างๆ ความจุต่ำสุดในปัจจุบันที่ Notebook ยังเลือกใช้งานจะอยู่ที่ 80 GB ครับ โดยความเร็วของ Harddisk Drive ที่ใช้งานใน Notebook ปกติจะใช้งานที่ความเร็ว 5400 RPM ไม่นิยมใช้ความเร็วสูงๆเนื่องจากจะทำให้อัตราการสิ้นเปลืองพลังงาน Battery เพิ่มสูงขึ้น และในอนาคตคาดว่า Harddisk แบบ Solid State จะเข้ามาแทนที่ Harddisk ในแบบเก่า ซึ่ง Solid State นี้ จะเป็นการนำหน่วยความจำแบบ Flash มาใช้งานเป็น Harddisk ทำให้ประหยัดพลังงานกว่า ลดเสียงในการทำงานลง อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่าอีกด้วย แต่ในปัจจับันยังไม่ได้ความนิยมเพราะว่ามีราคาแพง


Harddisk Drive



  • Optical Drive

      ซึ่งความจริงแล้วก็คือพวก CD Rom หรือ DVD Rom ที่ใช้งานนั่นแหละครับ ในปัจจุบันNotebook แทบจะทุกรุ่นไม่ว่าจะถูกหรือแพงจะมาพร้อมกับ DVD Rom แบบ Re-Writable แต่ถ้าเป็นรุ่นตัว Top จริงๆนั้น จะมาพร้อมกับ Blu-Ray Drive หรือ HD-DVD ครับ ถ้าให้แนะนำการเลือกซื้อผมขอแนะนำให้ใช้ Blu-Ray ครับ เพราะปัจจุบัน Format แบบ HD-DVD ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
Optical Drive

  • Battery

       สำหรับ Battery ที่มาพร้อมกับเครื่องในปัจจุบันความจุจะอยู่ที่ประมาณ 4800-5000 mAh ซึ่งหากคุณต้องการ Notebook ที่สามารถใช้งานได้นานๆบน Battery ปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาก็คือเรื่องความจุนี่แหละครับ

Battery

  • GPU

       GPU ย่อมาจาก Graphics Processing Unit ทำหน้าที่ประมวลงานทางด้านกราฟิก มีอยู่ 2 ประเภทคือแบบ on board และ delicate (แบบแยก) ซึ่งค่าตัวของ Notebook ที่มีงาน GPU แบบแยกนั้นจะสูงกว่าแบบ on board ราวๆ 4-5 พันบาท ถ้าหากท่านไม่ได้เล่นเกมส์ หรือใช้งานทางด้านกราฟิก ก็ไม่จำเป็นจะต้องเลือกใช้งานแบบแยกครับ นอกจากเรื่องราคาที่แตกต่างกันแล้ว ยังมีเรื่องของความร้อนและอัตราการบริโภคพลังงานที่ GPU แบบแยกนั้น ร้อนกว่าและกินไฟมากกว่าครับ ปัจจุบันจะมี 2 ยี่ห้อที่ขับเคี่ยวกันอยู่คือ ATI และ NVidia ซึ่งความแรงนั้นถือได้ว่าจัดจ้านพอๆกันครับ ต้องเทียบความแรงเป็น Series ของตัวนั้นๆอีกทีนึง จึงจะบอกได้ว่าใครแรงกว่า แต่รุ่น Top ของทั้ง 2 ยี่ห้อนั้น กินกันไม่ลงจริงๆครับ

Graphics Processing Unit (GPU)

  • Wireless LAN

       เป็นการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วพวก Desktop PC จะใช้งานเป็นแบบการเชื่อมต่อผ่านสาย LAN ซะมากกว่า ซึ่ง Notebook นั้นถูกออกแบบมาเพื่อความคล่องตัวในการใช้งานหากที่สายเกะกะก็คงไม่ต่างอะไรไปจาก Desktop PC ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการคิดค้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายขึ้นมา ซึ่งในปัจจุบันนี้ Notebook รุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าถูกหรือแพงก็มาพร้อมกับเทคโนโลยีแบบนี้หมดแล้วครับ เพิ่มความสะดวกสบายให้เราได้มาเลยจริงๆ


Wireless LAN
  • Bluetooth

       เป็นการเชื่อต่ออุปกรณ์ต่างๆแบบไร้สายอีกเช่นกัน เช่น เชื่อมต่อ Printer หรือ โทรศัพท์มือถือเป็นต้น ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างคล่องตัวมากกว่าเมื่อก่อนที่นิยมเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆแบบใช้สาย แต่ตัว Bluetooth เองนั้นไม่ได้มากับ Notebook ทุกรุ่น เพราะฉะนั้นหากใครสนใจหรือต้องการใช้งานอุปกรณ์ตัวนี้ ต้องตรวจสอบดีๆก่อนซื้อนะครับ


หมายเหตุ * ตำแหน่งที่ัตั้งของส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นอาจแตกต่างกันไป

       สำหรับข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจในการเลือกซื้อ Notebook ซักเครื่อง ว่าเราควรให้ความสนใจกับทางด้านไหนเป็นหลักอุปกรณ์ที่สำคัญๆต่องานมีอะไรบ้าง ผมจะยกตัวอย่างคร่าวๆให้ดังนี้นะครับ

  • สำหรับคอเกมส์

การเลือกซื้อ Notebook เพื่อมาเล่นเกมส์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยความสามารถจากทาง GPU เป็นหลัก ส่วนความสำคัญ CPU เป็นเรื่องรองครับ

  • งานเอกสารทั่วๆไป

งานประเภทนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้งานส่วนนี้ ซึ่งเราอาจจะตัดออกไปใช้เป็นแบบออนบอร์ด เพื่อประหยัดเงิน ประหยัดไฟทำให้เวลาที่ได้จากการใช้งานบนแบตเตอรี่มากขึ้น และที่สำคัญยังมีความร้อนน้อยกว่าแบบใช้การ์ดจอด้วยครับ

  • งานที่เน้นการประมวลผลเป็นหลัก

งานประเภทนี้ควรที่จะเลือกซื้อโดยเน้นไปที่ CPU และ แรมครับ เพื่อให้สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว สำหรับตัวอย่างงานประเภทนี้จะได้แก่ การตัดต่อวีดีโอ การจำลองเหตุการณ์ต่างๆ

       และนี่ก็คือโน้ตบุ๊คและส่วนประกอบของโน้ตบุ๊ค หวังว่าคงทำให้หลายๆคนได้รู้จักโน้ตบุ๊คมากขึ้น โดยข้อมูลทั้งหมดได้ถูกรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลายๆแหล่งมารวมกัน อาจจะมีบางข้อมูลไม่ถูกต้องหรือผิดไปจากสิ่งที่ผู้ศึกษาได้ศึกษามาโดยตรง ทางผู้จัดทำก็ขออภัยมาไว้ ณ ที่นี้ สุดท้ายขอให้ทุกคนใช้เทคโนโลยีอย่างถูกวิธีและถูกทางนะครับ

        เอกสารอ้างอิงและทีี่มา

www.thaibsocial.com/2015/08/โน้ตบุ๊คคืออะไร-มีข้อดีข้อเสียอย่างไร